
กิจกรรมสร้างสปิริต และความสามัคคี
ทุกๆกิจกรรมที่นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งใน และนอกหลักสูตร คือโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเอง สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นการสะสมทักษะที่หลากหลาย เพื่อความพร้อม หลังจบการศึกษา ออกไปสู่ชีวิตจริงในอนาคต
สร้างทีม เพื่อชิงความเป็นเลิศ
พื้นฐานที่แข็งแกร่งของนักศึกษา คือการเรียนรู้ที่จะทำงานเป็นทีม สามารถเลือกทำกิจกรรมที่มีมากกว่า 20 ชมรม พร้อมโครงการหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษา เลือกความถนัด ความชอบ ส่วนบุคคล เรียนรู้พัฒนาร่วมกัน สร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน เพื่อก้าวสู่การเป็นบัณฑิตที่ดี และประชากรที่ดีของประเทศ

เพราะคุณคึอ...คนเลือกเอง
เลือกสิ่งที่ใช่ และเริ่มลงมิอทำ
กิจกรรมนักศึกษา
ซึมซับศิลปะ & ซาบซึ้งวัฒนธรรม
กีฬาเป็นยาวิเศษ
สำนักกิจการนักศึกษา
นานาชมรม
ความสุขมีอยู่ทุกมุมในมหาวิทยาลัย
วิดีโอ แกลเลอรี่
วีดีโอ ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ ของน้องๆ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสยาม

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย
พระวิศวกรรม (สันสกฤต: विश्वकर्मा) หรือ พระวิษณุกรรม (บาลี: วิสฺสุกมฺม) หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา
พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆ จากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก
ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว
เครดิต: วิกิพีเดีย